" เมืองเกาะครึ่งร้อย พลอยแดงค่าล้ำ ระกำแสนหวาน หลังอานหมาดี ยุทธนาวีเกาะช้าง สุดทางบูรพา " ตราด เป็นจังหวัดชายแดนเล็ก ๆ สุดด้านชายฝั่งตะวันออกของประเทศไทย สันนิษฐานกันว่า ”ตราด” เพี้ยนมาจากคำว่า “กราด” ซึ่งเป็นชื่อของต้นไม้ชนิดหนึ่งที่ใช้ทำไม้กวาดและรอบเมืองตราดในสมัยก่อน นั้นก็มีต้น “กราด” ขึ้นอยู่เป็นจำนวนมาก แต่ในสมัยกรุงศรีอยุธยา รัชสมัยพระนเรศวรมหาราช “ตราด” มีชื่อในขณะนั้นว่า “บ้านบางพระ”
ใน ร.ศ. 112 รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทำสนธิสัญญากับฝรั่งเศส ยอมยกดินแดนจังหวัดตราดและเกาะช้างทั้งหมดตั้งแต่แหลมสิงห์ไปจนถึงเกาะกูด รวมทั้งเมืองปัจจันตคีรีเขตร (เกาะกง) ให้แก่ฝรั่งเศส เพื่อให้ฝรั่งเศสถอนทหารออกจากจันทบุรี ต่อมาในวันที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2449 ได้ยอมยกดินแดนเมืองพระตะบอง เสียมราฐ และศรีโสภณ รวมทั้งเมืองปัจจันตคีรีเขตรให้กับฝรั่งเศสเพื่อแลกเอาเมืองตราด เกาะต่างๆ ตั้งแต่แหลมสิงห์ไปจนถึงเกาะกูด กับเมืองด่านซ้ายฝั่งขวาของแม่น้ำโขงคืนมา โดยฝ่ายไทยมีพระยามหาอำมาตยาธิบดี ซึ่งในขณะนั้นเป็นพระยาศรีเทพตำแหน่งปลัดทูลฉลอง กระทรวงมหาดไทย เป็นหัวหน้าผู้แทนรัฐบาลไทยฝ่ายฝรั่งเศสมีมองซิเออร์รูซโซเรซิดังเป็น หัวหน้าผู้แทนรัฐบาลฝรั่งเศส ได้กระทำพิธีส่งและรับมอบกัน ณ ศาลากลางจังหวัด และฝรั่งเศสยอมถอนทหารออกไป เมื่อวันที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2450 ชาวจังหวัดตราดได้ถือเอาวันที่ 23 ของทุกปีเป็นวัน “ตราดรำลึก”
วันที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2484 ช่วงระหว่างสงครามอินโดจีน เรือรบฝรั่งเศสล่วงล้ำน่านน้ำด้านจังหวัดตราด กองเรือรบราชนาวีไทยได้เข้าขัดขวางเกิดการยิงต่อสู้กัน ซึ่งเป็นที่รู้จักกันทั่วไปในนาม “ยุทธนาวีที่เกาะช้าง” โดยฝ่ายไทยสามารถขับไล่ข้าศึกให้ล่าถอยไปได้แต่ต้องสูญเสียเรือรบหลวงไป 3 ลำ คือ เรือรบหลวงสงขลา เรือรบหลวงชลบุรี และเรือรบหลวงธนบุรี รวมทั้งทหารอีกจำนวนหนึ่ง ในวันที่ 17 มกราคมของทุกปี กองทัพเรือจึงถือเป็นวันทำบุญประจำปีเพื่ออุทิศส่วนกุศลแก่ทหารเรือไทยที่ ได้สละชีวิตในการปฏบัติหน้าที่ เพื่อปกป้องแผ่นดินไทยในครั้งนั้น
ประวัติความเป็นมา :
เมืองตราดสันนิษฐานว่าเพี้ยนมาจากคำว่า “กราด” ที่เป็นชื่อของต้นไม้ชนิดหนึ่งที่ใช้ทำไม้กวาด ต้นไม้ชนิดนี้มีขึ้นอยู่รอบเมืองตราด ซึ่งในสมัยนั้นมีต้นกราดอยู่เป็นจำนวนมาก แต่พอถึงในสมัยกรุงศรีอยุธยา รัชสมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช เมืองตราดมีชื่อในขณะนั้นว่า “บ้านบางพระ” จังหวัดตราด หรือเมืองทุ่งใหญ่ปรากฏชื่อในทำเนียบหัวเมืองสมัยพระเจ้าปราสาททอง (พ.ศ. 2178) ว่าเป็นหัวเมืองชายทะเล สังกัดฝ่ายการต่างประเทศ ซึ่งเกี่ยวข้องกับด้านการคลัง ตราดเป็นหนึ่งในเมืองท่าชายทะเล ที่มีชัยภูมิเหมาะกับการแวะจอดเรือ เพื่อขนถ่ายซื้อขายแลกเปลี่ยนสินค้า เติมเสบียงอาหาร น้ำจืดบริเวณอ่าวเมืองตราด จึงเป็นแหล่งที่ตั้งชุมชนพ่อค้าชาวจีนที่เดินทางเข้ามาค้าขาย ตราดนับเป็นเมืองศูนย์กลางการค้าแห่งหนึ่งในภูมิภาคเอเชีย ตะวันออกเฉียงใต้ในช่วงปลายอยุธยา สินค้าที่ส่งออกขายยังแดนไกล โดยเฉพาะของป่า เช่น เขากวาง หนังสัตว์ ไม้หอม และเครื่องเทศต่าง ๆ ล้วนมาจากเขตป่าเขาชายฝั่งทะเลตะวันออก แถบระยอง จันทบุรี ตราด โดยลำเลียงสินค้าผ่านมาตามแม่น้ำเขาสมิง ออกสู่ปากอ่าวตราด เมื่อครั้งสงครามกู้เอกราชสมเด็จพระเจ้าตากสินทรงเลือกตราด เป็นเมืองหน้าด่านกันชน ทำหน้าที่ส่งเสบียงอาหารก่อนเคลื่อนกองทัพเรือออกจากจันทบุรี ในสมัยรัชการที่ 1 เมืองตราดยังเป็นเมืองท่าสำคัญแห่งหนึ่งเช่นเดียวกับในสมัยอยุธยา ในสมัยรัชกาลที่ 3 ไทยทำศึกกับเจ้าอนุวงศ์ เมืองเวียงจันท์ซึ่งต่อมาหันไปสวามิภักดิ์กับญวน ไทยกับญวนผิดใจกันจนต้องทำสงครามกันในปี พ.ศ. 2371 ตราดเป็นแหล่งกำลังพล และเสบียงอาหารมีการตั้งป้อมค่ายอยู่ที่บ้านแหลมหิน ปากอ่าวเมืองตราด สมัยรัชกาลที่ 5 ฝรั่งเศสได้ส่งกองทัพเรือเข้ายึดจันทบุรี ปี ร.ศ. 112 (พ.ศ. 2436) และคืนให้ไทยในปี พ.ศ. 2447 โดยแลกกับเมืองตราดตั้งแต่แหลมสิงห์ไปจนถึงเกาะกูด รวมทั้งเมืองปัจจันตคีรีเขตร (เกาะกง) ต่อมารัฐบาลไทยเห็นว่าตราดมีความสำคัญทางยุทธศาสตร์ และพลเมืองส่วนใหญ่เป็นคนไทย ด้วยพระปรีชาสามารถของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ฝรั่งเศสจึงยินยอมทำสัญญายกเมืองตราดกับเมืองด่านซ้ายฝั่งขวาของแม่น้ำโขง (เมื่อหันหน้าไปทางปากแม่น้ำ) คืนให้กับไทยโดยแลกเปลี่ยนกับพระตะบอง เสียมราฐ ศรีโสภณ เมื่อวันที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2449 โดยฝ่ายไทยมีพระยามหาอำมาตยาธิบดี ซึ่งในขณะนั้นเป็นพระยาศรีเทพตำแหน่งปลัดทูลฉลองกระทรวงมหาดไทยเป็นหัวหน้า ผู้แทนรัฐบาลไทย ฝ่ายฝรั่งเศสมีเมอซิเออร์รูซโซเรซิดังเป็นหัวหน้าผู้แทนรัฐบาลฝรั่งเศสได้ กระทำพิธีส่ง และรับมอบกัน ณ ศาลากลางจังหวัด และฝรั่งเศสยอมถอนทหารออกไปเมื่อวันที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2450 ในช่วงสงครามอินโดจีน (พ.ศ. 2483-2484) ฝรั่งเศสพยายามเข้ายึดเมืองตราดอีกเมื่อวันที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2484 กองทัพเรือไทยได้เข้าต่อสู้ขัดขวางกองทัพเรือฝรั่งเศสที่ล่วงล้ำน่านน้ำไทย อย่างกล้าหาญ รักษาเมืองยุทธศาสตร์ที่อุดมสมบูรณ์แห่งนี้ได้ ปี พ.ศ. 2521 เกิดสงครามสู้รบในกัมพูชา ชาวเขมรนับแสนหนีตายทะลักเข้ามาในเขตไทยทางเทือกเขาบรรทัด เขตพรมแดนด้านตะวันออก เส้นทางหลวงหมายเลข 318 จากตัวเมืองตราดเลียบขนานเทือกเขาบรรทัด และชายฝั่งทะเลสู่อำเภอคลองใหญ่เป็นเส้นทางยุทธศาสตร์สายสำคัญ เมื่อสงครามสงบลงในปี พ.ศ. 2529 เส้นทางสายนี้ได้แปรเปลี่ยนเป็นเส้นทางการค้าระหว่างชายแดนไทย-กัมพูชา บริเวณตลาดหาดเล็ก สุดเขตชายแดนไทย และเป็นจุดเริ่มต้นการเดินทางต่อไปยังเกาะกง การขุดพบ “พลอยแดง” หรือ “ทับทิมสยาม” ในเขตอำเภอบ่อไร่เมื่อปี พ.ศ. 2514 ก่อกระแสการตื่นพลอย ผู้คนจากทั่วสารทิศหลั่งไหลเข้ามาแสวงโชคที่นี่ความเจริญทุกด้านมุ่งสู่บ่อ ไร่จนกลายเป็นเมืองใหญ่คู่กับตัวเมืองตราด พื้นที่ที่เคยเป็นป่าทึบกลายเป็นหลุมบ่อ เมื่อทรัพย์สินในดินเริ่มหมดไป ในปี พ.ศ. 2534 บ่อไร่กลายเป็นเมืองร้าง เหลือไว้เพียงอาคารร้านค้าซึ่งเป็นอนุสรณ์แห่งความรุ่งเรืองทางเศรษฐกิจ จังหวัดตราด อยู่ห่างจากกรุงเทพฯ 315 กิโลเมตร มีพื้นที่ประมาณ 2,819 ตารางกิโลเมตร เป็นจังหวัดชายแดนทางภาคตะวันออกของประเทศไทย แบ่งการปกครองออกเป็น 5 อำเภอ กับ 2 กิ่งอำเภอ คือ อำเภอเมือง อำเภอเขาสมิง อำเภอแหลมงอบ อำเภอคลองใหญ่ อำเภอบ่อไร่ กิ่งอำเภอเกาะกูด และกิ่งอำเภอเกาะช้าง จังหวัดตราดแบ่งการปกครองออกเป็น 5 อำเภอ 2 กิ่งอำเภอ คือ อำเภอเมือง อำเภอเขาสมิง อำเภอแหลมงอบ อำเภอคลองใหญ่ อำเภอบ่อไร่ กิ่งอำเภอเกาะช้าง และกิ่งอำเภอเกาะกูด สภาพภูมิอากาศ : จากการที่หมู่เกาะช้างเป็นเกาะซึ่งมีทะเลล้อมรอบทำให้อุณหภูมิ บริเวณเกาะช้างเหมาะแก่การพักผ่อน คือ ไม่ร้อนจัด หรือหนาวจนเกินไป สำหรับอิทธิพลจากมรสุมนั้น เกาะช้างได้รับอิทธิพลทั้งจากลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ และมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ จากอิทธิพลดังกล่าวทำให้เกิดข้อจำกัดในการเดินทางด้วยเรือบริเวณเกาะช้างคือ ในช่วงฤดูมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ประมาณเดือนพฤษภาคม-ตุลาคม ชายฝั่งด้านตะวันตกซึ่งเป็นด้านรับลมจะเป็นคลื่นลมแรง ไม่สามารถเดินทางด้วยเรือได้ หลังเดือนตุลาคมถึงต้นเดือนพฤษภาคมเป็นช่วงที่มีคลื่นน้อยที่สุด ฉะนั้นการเดินทางไปเกาะช้าง หรือหมู่เกาะต่างๆ ค่อนข้างจะสะดวก พื้นที่บางส่วนของจังหวัดเป็นเกาะอยู่ในทะเลอ่าวไทยโดยส่วนมาก ทำให้ตราดมีทรัพยากรทางการท่องเที่ยวทางทะเลอยู่มากโดยมีเกาะถึง 52 เกาะ สภาพภูมิอากาศ จังหวัดตราดมีอากาศไม่ร้อนจัด หรือหนาวจนเกินไป แต่มีฝนตกชุกมาก เพราะมีพื้นที่ติดทะเลและภูเขาโอบล้อม จึงทำให้รับอิทธิพลของลมมรสุม แบ่งออกเป็น 3 ฤดู ฤดูหนาว เป็นเพียงระยะเวลาสั้นๆ ช่วงเดือนพ.ย.-ก.พ. อากาศไม่หนาวมากนัก อุณหภูมิเฉลี่ยประมาณ 20 องศาเซลเซียส ฤดูร้อน เป็นช่วงระหว่างเดือน มี.ค.-เม.ย. อุณหภูมิโดยเฉลี่ยไม่เกิน 34 องศาเซลเซียส ฤดูฝน เกิดจากอิทธิพลลมมรสุมตัวันตกเฉียงใต้พัดผ่านทะเลอ่าวไทย ในช่วงเดือน พ.ค.-ต.ค ของทุกปี ทำให้มีฝนตกชุกในเกือบทุกพื้นที่ โดยเฉลี่ยจะมีปริมาณน้ำฝน 4,000 มม.ต่อปี อาณาเขต : ตราด อยู่ห่างจากกรุงเทพฯ ประมาณ 315 กิโลเมตร มีพื้นที่ 2,819 ตารางกิโลเมตร ทิศเหนือ จดจังหวัดจันทบุรี และราชอาณาจักรกัมพูชา ทิศใต้ จดอ่าวไทย ทิศตะวันออก จดราชอาณาจักรกัมพูชา มีทิวเขาบรรทัดเป็น เส้นกั้นเขตแดนตั้งแต่ตอนกลางของจังหวัดลง มาตลอดด้านตะวันออก ระยะทางประมาณ 165 กิโลเมตร ทิศตะวันตก จดจังหวัดจันทบุรีที่แม่น้ำเวฬุเป็นเส้นกั้นเขตแดน หมายเลขโทรศัพท์สำคัญ (รหัสทางไกล 039) | สำนักงานจังหวัดตราด | 039-511-282 | ประชาสัมพันธ์จังหวัด | 039-511-998 | สถานีเดินรถ บขส. | 039-532-127 | สถานีเดินรถโดยสารประจำทาง | 039-511-986 | ไปรษณีย์เมืองตราด | 039-511-175 | สถานีตำรวจภูธร อำเภอเมือง | 039-511-239 | สถานีตำรวจภูธร อำเภอคลองใหญ่ | 039-581-115 | สถานีตำรวจภูธร อำเภอแหลมงอบ | 039-597-033 | สถานีตำรวจภูธร กิ่งอำเภอเกาะช้าง | 039-586-191, 039-586-250 | โรงพยาบาลตราด | 039-511-040-1, 520-216 | โรงพยาบาลแหลมงอบ | 039-597-040, 597-047 | โรงพยาบาลบ่อไร่ | 039-591-040 | โรงพยาบาลคลองใหญ่ | 039-581-044 , 039-581-116 | โรงพยาบาลกรุงเทพฯ-ตราด | 039-532-735 | โรงพยาบาลกิ่งอำเภอเกาะช้าง | 039-586-130 | ตำรวจท่องเที่ยวแหลมงอบ | 039-597-255, 039-597-259-60 | ททท. สำนักงานภาคกลาง เขต5 | 039-597-255, 597-259-60 | ด่านตรวจคนเข้าเมืองแหลมงอบ | 039-597-261 | ด่านตรวจคนเข้าเมืองคลองใหญ่ | 039-588-108 | จุดตรวจด่านชายแดนบ้านหาดเล็ก | 039-588-084 | สถานีตรวจอากาศ อำเภอคลองใหญ่ | 039-581-276 | |